วันที่ 3 ธันวาคม 2567 โดยมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้ดำเนินงานจัดเวทีอบรมกลไกการเฝ้าระวังและการคุ้มครองเด็กระดับชุมชน วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 ที่โรงเรียนบ้านป่าซางนางเงิน ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ติดกับชายแดนประเทศไทย-เมียนมา โดยในโรงเรียนมีเส้นทางผ่านทางเดินที่คนเมียนมาใช้เดินข้ามไปข้ามมา ระหว่างไทย-เมียนมา ในการทำงานเช้ามาเย็นกลับ และมีกลุ่มเด็กเคลื่อนย้ายจำนวนกลุ่มหนึ่งที่ติดตามพ่อแม่มาโดยไม่ได้รับการศึกษา มูลนิธิในนามเครือข่าย scpp III จึงได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมอบรมกลไกปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กระดับชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่คณะครู ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้แทนจากชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 40 คน ชาย 17 คน หญิง 23 คน แยกเป็น
- บุคลากรทางการศึกษา หญิง 9 คน
- ผู้ใหญ่บ้าน ชาย 2 คน
- ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชาย 4 คน
- คณะกรรมการสถานศึกษา 7 คน ชาย 5 คน หญิง 2 คน
- ทหารชายแดน ชาย 1 คน
- ส.อบต. ชาย 1 คน
- เด็กเยาวชน 6 คน ชาย 3 คน หญิง 3 คน
- ทีมงาน พชภ. 10 คน ชาย 1 คน หญิง 9 คน
ประเด็นเนื้อหา
1.สิทธิเด็ก 4 ประการ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม
2.การละเมิดสิทธิเด็ก การละเมิดทางด้านร่างกาย การละเมิดทางด้านเพศ การละเมิดทางด้านวาจาและอารมณ์ การละเมิดปล่อยปละละเลยเพิกเฉย
3.เทคนิคสอนลูกให้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ
4.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็ก
5.กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิเด็ก
6.สิทธิและหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อตนเอง/ชุมชน/โรงเรียน/สังคมร่วม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลักการทำงานและนโยบายการทำงานของคณะกรรมการชุมชน/โรงเรียน
2.เพื่อแสวงหาแนวทางในการทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการชุมชน/ครูโรงเรียน
3.เพื่อสร้างความตระหนักในประเด็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กในระดับชุมชน/โรงเรียน
วิธีการดำเนินกิจกรรม
1.เข้าพื้นที่ชุมชนโรงเรียนเพื่อรวบรวมสถานการณ์จริงในระดับพื้นที่
2.ประสานครูผู้นำชุมชนในการร่วมวางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรม
3.ดำเนินการจากเวทีประชุมเพื่อแสวงหาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน
4.ใช้หลักสูตรการคุ้มครองสิทธิเด็กในการจัดกิจกรรม
ผลลัพธ์ที่เกิด
1.ได้แนวทางและแผนในการดำเนินงานร่วมกับชุมชนโรงเรียนในประเด็นการคุ้มครองสิทธิเด็กในบริบทโยกย้ายถิ่นฐาน
2.คณะครู/คณะกรรมการชุมชนและสมาชิกมีความตระหนักในประเด็นการคุ้มครองสิทธิเด็กและการมีบทบาทส่วนร่วมช่วยโรงเรียนชุมชนสังคมในการเฝ้าระวังและคุ้มครองเด็ก
3.ผู้เข้าร่วมได้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในประเด็นการเฝ้าระวังและการคุ้มครองเด็ก
4.เกิดการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับเด็กในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ร่วมการและหาแนวทางในการแก้ไขในพื้นที่ต่อไป
5.คนในพื้นที่มีความเข้าใจและเห็นภาพความสำคัญการเฝ้าระวังและการคุ้มครองเด็กมากขึ้น




Total Views: 41 ,