เวทีกลไกคุ้มครองเด็กในบริบทโยกย้ายถิ่นฐาน กับชุมชนอาข่าในพื้นที่ท่าขี้เหล็กประเทศเมียนมา

เวทีกลไกคุ้มครองเด็กในบริบทโยกย้ายถิ่นฐาน กับชุมชนอาข่าในพื้นที่ท่าขี้เหล็กประเทศเมียนมา
วันที่ 17 พฤศจิการยน 2567
คณะทำงานโครงการ SCPP (พชภ.) ร่วมกับกลุ่มศิษยาภิบาล ในพื้นที่ท่าขี้เหล็กเพราะบุคคลที่ทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มาจากพื้นที่ยากลำบาก
พื้นที่สู้รบ คือ กลุ่มศิษยาภิบาลของศาสนาคริสต์ จึงได้เดินทางเข้ามายังเมืองท่าขี้เหล็กเพื่อการดำเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิเด็กในบริเวณชายแดน
ผู้เข้าร่วมมีจำนวนทั้งหมด 46 คน ชาย 32 คน หญิง 14 คน แยกเป็น
• เด็ก/เยาวชน จำนวน 16 คน ชาย 15 คน หญิง 1 คน
• ผู้ใหญ่ จำนวน 15 คน ชาย 12 คน หญิง 3 คน
• ผู้สอนศาสนาคริสต์ จำนวน 8 คน ชาย 4 คน หญิง 4 คน
• เจ้าหน้าที่ จำนวน 7 คน ชาย 1 คน หญิง 6 คน
ข้อค้นพบ
1.ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
มองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างคนที่มีครอบครัวยากจนกับครอบครัวรวย คนที่มีทุนทางสังคมจะมีเศรษฐกิจที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือเหนือกว่า
2.ความเสื่อมโทรม
สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นระบบการบริโภคน้ำในแม่น้ำที่ค่อนข้างไม่สะอาดระบบความเสื่อมโทรมทางด้านสุขภาพของประชากรในประเทศ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจจากอากาศที่เป็นพิษเห็นได้ชัดเจนจากฝุ่นตามถนนหนทางที่ค่อนข้างมีจำนวนมาก ฝุ่นจากโรงโม่หิน
3.การด้อยการพัฒนา
เด็กไม่ได้รับการศึกษาส่งผลให้คุณภาพชีวิตไม่ได้รับการพัฒนา รวมถึงประชากรไม่ได้รับการส่งเสริมในเรื่องของการพัฒนาด้านสติปัญญา ด้านความเป็นอยู่ ด้านอาชีพ สุขอนามัย ฯลฯ ส่งผลให้ความเป็นอยู่ยากลำบากไม่มีสวัสดิการใดๆที่ทางรัฐเข้ามาสนับสนุนเสริมหรือพัฒนา ขาดการสื่อสารที่นำไปสู่การพัฒนาแม้กระทั่งในเรื่องของการคมนาคมการเดินทางถนนหนทางค่อนข้างยากลำบากการสัญจรไปมาไม่ปลอดภัย
4.การขาดโอกาส
ประชากรของประเทศขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน
-สิทธิที่จะมีชีวิต
-สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง
-สิทธิในการมีส่วนร่วม
-สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา
5.ความเปราะบาง
สภาพจิตใจของประชากรมีความเปราะบางความเป็นอยู่ที่มีความเสี่ยงต่อการสู่กระบวนการถูกละเมิดทางเพศของกลุ่มเด็กและสตรีที่อาศัยอยู่ในกองบริเวณใกล้ขยะที่ไม่มีความปลอดภัยการเดินทางที่ไม่มีความสว่างการคมนาคมมีอันตราย
6.การขาดการมีส่วนร่วม
ประชากรไม่มีส่วนร่วมในการช่วยคิดช่วยทำช่วยพัฒนาส่งเสริมใดๆเป็นการปกครองโดยเผด็จการ
7.ความเข้มแข็งทางด้านศาสนา
ผู้นำศาสนาคริสต์มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็ง ต่อจิตใจและความเป็นกลุ่ม
ผลลัพธ์
1. ทำให้เห็นว่ากลุ่มบุคคลที่ทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มาจากพื้นที่ยากลำบาก พื้นที่สู้รบ คือ กลุ่มศิษยาภิบาลของศาสนาคริสต์ ในพื้นที่ท่าขี้เหล็ก จากช่วงคริสต์มาสปีที่แล้ว (ธันวาคม 2566) คณะฯ ได้เดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลเพื่อการหนุนใจเทศกาลคริสต์มาส และได้พบกับเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กกำพร้า จำนวนมาก แต่ช่วยเหลือให้มาอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ของกลุ่ม แบบกินนอนในบ้านพัก และกลางวันมีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียน ได้เพียง 17 คน ซึ่งมีอายุห่างกันอย่างมาก กล่าวคือ กลุ่มเด็กที่อายุสูงในจำนวนนี้คืออายุ 18 ปี และเด็กที่อายุต่ำสุดคืออายุ 4 ปี
2. ในชุมชนมีการจัดระบบกลไกด้านการดูแลเด็กเยาวชนผ่านระบบศาสนาคริสต์โดยผู้สอนศาสนามีบทบาทสำคัญและเป็นตัวหลักในการเข้ามาดูแลและจัดการเรียนการสอนจัดกระบวนการพัฒนาแต่ละช่วงแต่ละวัยให้มีความก้าวหน้าโดยผ่านหลักการสอนในพระคัมภีร์ของศาสนา

Loading

Total Views: 43 ,