อบรมพัฒนาศักยภาพว่าด้วยเรื่องกฎหมาย ณหมู่บ้าน ห้วยมะซาง ตำบลวาวี หมู่ 5 อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

อบรมพัฒนาศักยภาพว่าด้วยเรื่องกฎหมาย
ณหมู่บ้าน ห้วยมะซาง ตำบลวาวี หมู่ 5 อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
วันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2567
โดยมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)
จำนวนผู้เข้าร่วม 73 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่และชนเผ่าลัวะ
  • ผู้เข้าร่วมจำนวน 73 คน ชาย 38 คน หญิง 35 คน แยกเป็น
  • เด็ก/เยาวชน จำนวน 8 คน ชาย 6 คน หญิง 2 คน
  • ผู้ใหญ่ จำนวน 55 คน ชาย 30 คน หญิง 25 คน
  • คณะทำงาน จำนวน 10 คน ชาย 2 คน หญิง 8 คน
โดยเกิดเวทีในการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นเรื่องสิทธิสถานะเพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็ก/ผู้ใหญ่ไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ ผู้เข้าร่วมได้รับองค์ความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามมาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และด้านการจัดเตรียมพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องในการประกอบคำร้องฯ ของเด็กนักเรียนที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยอักษร G และกลุ่มตามมาตรา 38 วรรคสองกลุ่มบุคคลทั่วไป
ผู้เข้าร่วมสามารถวิเคราะห์ข้อมูล เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานะของตนเองได้และเข้าใจภาพรวมถึงสถานการณ์ด้านสถานะทางกฎหมายของเด็กนักเรียนในพื้นที่ตนเองได้หลังจากเข้าร่วมการอบรม เช่นการขอมีสถานะต่างด้าวชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 การลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23 การขอสัญชาติไทยมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง การข­อแปลงสัญชาติ ตามมาตรา 10 และการขอถือสัญชาติไทยตามสามี มาตรา 9 พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ประชุมวางแผนหารือทีมงานเพื่อกำหนดพื้นที่และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการอบรม
2.จัดทำเอกสารจัดทำโครงการย่อยนำเสนอคณะกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่เพื่อรับความเห็นชอบและข้อแนะนำ
3.ประสานงานและติดต่อผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการชุมชนเพื่อวางแผนงานร่วมกัน
4.ประสานวิทยากร
5.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วม
6.ดำเนินการจัดอบรมตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้และตามกำหนดการในการดำเนินงาน
ผลลัพธ์
1.เกิดเวทีในการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นเรื่องสิทธิสถานะเพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฎไร้สัญชาติในพื้นที่
2.ผู้เข้าร่วมได้รับองค์ความรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
3.ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิสถานะว่าด้วยทางกฎหมายมากขึ้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เบื้องต้นได้และเข้าใจภาพรวมถึงสถานการณ์ด้านสถานะทางกฎหมายของเด็กนักเรียนในพื้นที่ตนเองได้
4 เกิดพื้นที่และกลุ่มเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการวางแผนการดำเนินงานแก้ไข้ปัญหา เกี่ยวกับสถานะทางกฎหมาย
ข้อค้นพบ
1.ผู้เข้าร่วมไม่มีองค์ความรู้ไม่มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายเบื้องต้นเลย
2.ผู้เข้าร่วมไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางกฎหมายของตัวเองและของคนในพื้นที่ได้
3.ผู้เข้าร่วมมีความสนใจในการแก้แต่ปัญหาสถานะของตัวเองและปัญหาเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ
4.นอกเหนือจากประเด็นเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติแล้วยังมีประเด็นผู้เฒ่าหรือหรือชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่องสถานะแต่ไม่รู้จะต้องไปปรึกษาใครและแก้ไขในช่องทางใด

Loading

Total Views: 34 ,