“การผลิตสื่อออนไลน์ยุคใหม่เพื่อการสื่อสารสาธารณะ”

“การผลิตสื่อออนไลน์ยุคใหม่เพื่อการสื่อสารสาธารณะ”

(Workshop Media production for communication through the website)

End Statelessness Children on the Move; Protection on the Move Thailand Project (SCPP Phase III)

ระหว่างวันที่ 22 – 24 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมจ่าอุ๊ก ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา ต.แม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

มูลนิธิกระจกเงา สำนักเงานฝาง ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย SCPP ร่วมกันจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตสื่อออนไลน์ยุคใหม่เพื่อการสื่อสารสาธารณะ ให้กับเด็กเยาวชนในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน  จังหวัด เชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวิทยากรให้ความรู้ผ่านกิจกรรรมและจัดการกระบวนการโดยมีเนื้อหาดังนี้

กระบวนการ

  1. รู้จักฉัน รู้จักเธอ รู้จักตัวเองผ่านกระบวนการสันทนาการสร้างสรรค์
  2. ชี้แจ้งนโยบายการคุ้มครองเด็ก ให้กับเด็กเยาวที่เข้าร่วม กิจกรรม ค่ายเสียงจากเด็กเคลื่อนย้าย “การผลิตสื่อออนไลน์ยุคใหม่เพื่อการสื่อสารสาธารณะ”
  3. เรียนรู้เทคนิคการเล่าเรื่องเบื้องต้น (Story telling) : เล่าเรื่อง เสียงของเด็กเคลื่อนย้าย
  4. เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น
  5. การออกแบบกราฟฟิกเพื่อการสื่อสาร ผ่านโปรแกรม Canva
  6. นักสื่อสารมือถือ (MOJO: Mobile Journalism) ผ่านโปรแกรม Cap Cut

 

ผลลัพธ์

  1. เด็กเยาวชนได้รับการเรียนรู้เทคนิคการทำงาน การวางโคลงเรื่อง การเล่าเรื่องให้มีความหน้าสนใจผ่านการลงมือทำและปฏิบัติให้มีความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เด็กเยาวชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนเองและฟังความคิดเห็นของเพื่อน ได้แลกเปลี่ยนเรื่องเล่าของแต่ละคน ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย โดย มีวิทยากรผู้เชียวชาญค่อยให้คำแนะนำ
  2. เด็กเยาวชนได้รับการเรียนรู้เทคนิคการตัดต่อผ่านโปรแกรมมือถือ CAPCUT การใช้เครื่องมือในโปรแกรมเทคนินการวางโคลงเรื่องงานวีดีโอ เยาวชนผู้เข้าร่วมได้ลงมือทำและปฏิบัติจริงเพื่อให้มีความเข้าใจในโปรแกรมตัดต่อ โดยใช้เทคนิคและกระบวนที่ทางวิทยากรผู้เชียวชาญในการสร้างสรรค์ผลงานสื่อวีดีโอ ให้ออกมาเป็นผลงาน
  3. เกิดผลงานของเยาวชน โปรเตอร์บอกเล่าเรื่องราว ของเสียงเด็กเคลื่อนย้าย วีดีโอที่สะท้อนเรื่องราวของตนเอง

 

ซึ่งวิทยากรทุกท่านได้กล่าวให้กำลังใจเด็ก ๆ และได้เห็นถึงความสามารถและทักษะของเด็กเยาวชนแต่ละคน ให้ทุกคนมีความพยายาม ความฝัน และพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะเด็กเคลื่อนย้าย เด็กผู้ลี้ภัย เด็กไม่มีสถานะบุคคล ขอให้ทุกคนคิดสร้างสรรค์สื่อเป็นพลังบวกเพื่อให้กำลังใจและต่อสู้กับปัญหาของตนเอง โดยมีองค์กรภาคีเครือข่าย SCPP ที่ค่อยสนันสนุน และช่วยผลักดันและแก้ไขปัญหาของกลุ่มเด็กเยาวชน ต่อไป

 

ผู้เข้าร่วมทั้งหมด

จำนวนผู้เข้าร่วม 42 คน

  1. เด็กเยาวชน จำนวน 23 คน  ( ชาย 10 คน หญิง 13 คน )
  2. พี่เลี้ยงจำนวน 11 คน ( ชาย 2 คน หญิง 9 คน )
  3. เจ้าหน้าที่ทีมงานผู้ช่วยและวิทยกร จำนวน 8 คน ( ชาย 5 หญิง 3 คน)

   

 

Loading

Total Views: 50 ,